วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

ความหมายการประชาสัมพันธ์


ความหมายการประชาสัมพันธ์
                “  การประชาสัมพันธ์ ” มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษ คือ “Public Relations”
“Public” หมายถึง หมู่คน ประชาชน หรือสาธารณชน
“Relations” หมายถึง การสัมพันธ์
ดังนั้น ถ้าแปลความหมายแล้ว การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) หมายถึง การสัมพันธ์กับคนหมู่มาก
                เอ็ดเวิร์ด แอล.เบอร์เนส์(Edward L. Bernays) ให้ความหมาย “การประชาสัมพันธ์” ไว้ ๓ ประการ ได้แก่
                ๑.เป็นการเผยแพร่ ชี้แจงให้ประชาชนทราบ
                ๒.เป็นการชักจูงใจให้ประชาชนมีส่วนร่วม และเห็นด้วยกับวัตถุประสงค์ ตลอดจนวิธีการดำเนินงานของสถาบัน หน่วยงาน
                ๓.เป็นการผสมผสานความคิดเห็นของประชาชนที่เกี่ยวข้อง ให้เข้ากับจุดมุ่งหมายและวิธีการดำเนินงานของสถาบัน
                พรทิพย์ วรกิจโภคาทร ให้ความหมาย “ การประชาสัมพันธ์ ” คือ การปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ตามแผนการของการสื่อสารที่ได้กำหนดไว้ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันถูกต้องตรงกันในอันที่จะสร้างความเชื่อถือ ศรัทธา และความร่วมมือระหว่างสถาบันกับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย โดยเป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่ต่อเนื่องและหวังผลระยะยาว
เสรี วงษ์มณฑา ได้กล่าวว่า “การประชาสัมพันธ์” คือ การกระทำทั้งสิ้น ทั้งหลาย ทั้งปวง ที่เกิดจากการวางแผนล่วงหน้า ในการที่จะสร้างความเข้าใจกับ สาธารณชนที่เกี่ยวข้องเพื่อก่อให้เกิดทัศนคติที่ดี ภาพพจน์ที่ดี อันจะนำไปสู่สัมพันธภาพที่ดีระหว่างหน่วยงานและสาธารณชนที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดการสนับสนุนและความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
จากความหมาย “ การประชาสัมพันธ์” ที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สามารถสรุปได้ว่า “การประชาสัมพันธ์” หมายถึง “การติดต่อสื่อสารระหว่างหน่วยงาน หรือองค์กรและกลุ่มประชาชนเป้าหมาย เพื่อสร้างความเข้าใจอันถูกต้องในอันที่จะสร้างความเชื่อถือ ศรัทธา และความร่วมมือตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดี ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของหน่วยงานนั้นๆ บรรลุเป้าหมาย”

ความแตกต่างระหว่างการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์



“การโฆษณา” และ “การประชาสัมพันธ์” ต่างมีความสำคัญต่อองค์กร มีบทบาทและมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและทัศนคติของสังคมและมวลชนเป็นอันมาก ซึ่งคนนิยมใช้คำทั้งสองคำนี้เป็น คำเดียวกันว่า “การโฆษณาประชาสัมพันธ์” แท้จริงแล้วทั้งสองคำมีความหมายที่แตกต่างกัน
การประชาสัมพันธ์ มีความหมายที่กว้างกว่า เน้นเรื่องการติดต่อสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพพจน์ขององค์กร  โดยการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลความรู้และความคิดเห็น เป็นการจูงใจให้บุคคลให้การสนับสนุนองค์กร
ส่วน การโฆษณา เป็นเรื่องของธุรกิจการขายโดยเฉพาะ ซึ่งมุ่งเน้นในเรื่องการขายสินค้าเป็นสำคัญ เป็นการกระตุ้นการขาย สร้างบรรยากาศของการดำเนินการธุรกิจการขาย เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร บุคคล สินค้า ให้เป็นที่รู้จักและเป็นลูกค้าต่อผลิตภัณฑ์ขององค์กร เพื่อให้เกิดผลกำไรมากที่สุด

ความแตกต่างระหว่างการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
การโฆษณา
การประชาสัมพันธ
  • การโฆษณามีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อ “ผลกำไร”
  • การโฆษณาโดยส่วนใหญ่หวังให้เกิดผลใน
    ช่วงระยะเวลาสั้นๆ
  • การโฆษณาเป็นการจูงใจเพื่อให้ขายสินค้า
    และบริการได้
  • การโฆษณาต้องเสียค่าใช้จ่ายในการ
    ดำเนินการค่อนข้างมาก
  • การโฆษณาเป็นการสื่อสารทางเดียว
  • การโฆษณาต้องซื้อสื่อเพื่อเผยแพร่งานโฆษณา เช่น การซื้อเวลาในรายการของสื่อโทรทัศน์ หรือการซื้อพื้นที่ในหน้าหนังสือพิมพ์
  • การประชาสัมพันธ์มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้นมากกว่าผลกำไร
  • การประชาสัมพันธ์โดยส่วนใหญ่หวังผลสำเร็จในระยะยาว เพราะเป็นการสร้าง ทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้นการประชาสัมพันธ์เป็นการจูงใจเพื่อ
    สร้างภาพพจน์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับองค์กร
  • การประชาสัมพันธ์ส่วนใหญ่อาศัยความร่วมมือ
    จึงเสียค่าใช้จ่ายน้อย
  • การประชาสัมพันธ์เน้นการสื่อสารสองทาง การประชาสัมพันธ์ไม่ต้องซื้อสื่อโดยตรง
  • แต่มีค่าใช้จ่ายทางอ้อมในลักษณะของการเป็น
    ผู้สนับสนุนรายการ เช่น เสื้อผ้าพิธีกรการสนับสนุนสถานที่ดำเนินการ

การโฆษณา

การโฆษณา หมายถึง  การเสนอขาย 1. สินค้า 2. บริการ เช่น 
1. เสนอขายสินค้าที่มีรูปร่าง จึงจับ ยึด ถือ และสามารถมองเห็นได้ เช่น บ้าน รถ อาหาร เสื้อผ้า ยาสีฟัน เป็นต้น
2. เสนอขายบริการที่ไม่มีรูปร่าง จึงไม่สามารถจับ ยึด ถือ และไม่สมารถมองเห็นได้ แบ่งเป็น 2 ประเภทคือบริการด้านวิชาการและบริการด้านแรงงาน เช่น 1. ครู แพทย์ ทนายความขายความรู้และวิชาการ 2. กรรมกรขายแรงงาน รับจ้างทำความสะอาดบ้าน ล้างรถยนต์ ขนของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เป็นต้น 
การประชาสัมพันธ์ หมายถึง การแจ้งข่าวความเคลื่อนไหวขององค์กร เช่น กระทรวงศึกษาธิการจะจัดผ้าป่า กฐิน หรือย้ายไปตั้งที่ใหม่ จึงแจ้งให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบ เป็นต้น
สรุป หัวใจของการโฆษณาคือการเสนอขายสินค้าและขายบริการ แต่หัวใจของการประชาสัมพันธ์คือการแจ้งข่าวซึ่งไม่มีการเสนอขายสินค้าและบริการ
ประโยชน์ของการโฆษณา
โดยมากลูกค้ามักจะเลือกซื้อสินค้าจากร้านค้าที่พวกเขาคุ้นเคยกับชื่อร้านและชื่อของสินค้าที่เขาได้ อ่าน ได้ฟัง และได้เห็นชื่อร้านและชื่อสินค้านั้นบ่อย ๆ และการตัดสินใจซื้อสินค้าของลูกค้ามักจะผ่านขั้นตอนต่าง ๆ เหล่านี้เสมอ
     1. ลูกค้ามักจะนึกถึงร้านค้า สินค้า และการบริการที่ได้ดู ได้ฟัง และได้อ่าน
จากการโฆษณาของหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ 
2. แรงจูงใจจากการโฆษณา จะกระตุ้นให้ลูกค้าอยากรู้เกี่ยวกับ ร้านค้า สินค้า การบริการ และคุณภาพของสินค้ามากขึ้น
3. ลูกค้าไปที่ร้านเพื่อสำรวจร้านค้า สำรวจสินค้าและสำรวจการการบริการ
4. ลูกค้าจะวิเคราะห์ผลประโยชน์ที่ได้รับและเปรียบเทียบราคาของสินค้า
5. เมื่อลูกค้าพอใจ เขาจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการ ส่วนสิ่งที่จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการ คือการส่งเสริมการขายให้ตรงจุด และกลยุทธ์การขายที่ชาญฉลาด 
หมายเหตุ การมีสินค้าดี ๆ แต่ไม่โฆษณาก็เหมือนมีเพชรเม็ดงามที่เก็บไว้ในตู้เซฟนั้นเอง และการมีสินค้าไม่ดี ไม่มีคุณภาพ แต่หมั่นโฆษณาก็เหมือนการเร่งประหารธุรกิจของตัวเองแท้ ๆ เพราะในโลกนี้ ไม่มีคนจะให้เราโกหกหลอกลวงได้ตลอดไป และอิทธิพลของปากต่อปากนี้ศักดิ์สิทธิ์มากครับ 
โครงสร้างของการโฆษณาที่สมบูรณ์แบบต้องประกอบด้วย
1.     ชื่อร้าน ชื่อบริษัท ชื่อโรงเรียนของผู้ประกอบธุรกิจ
2.     ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวกและรวดเร็ว
3.     โทรศัพท์ โทรสาร อีเมล์ 
4.     สินค้า ผลิตภัณฑ์หรือการบริการที่ท่านเสนอขาย
5.     ราคาและสิทธิพิเศษที่ผู้ซื้อจะได้รับ ( ผู้โฆษณามักละลืมข้อที่ 5 ) 
หมายเหตุ การโฆษณาที่สร้างสรรค์ เพื่อคืนกำไรให้กับสังคม เช่น การโฆษณาของ “ กระทิงแดง ” ในปัจจุบัน จะดึงดูดความสนใจของผู้ชม และผู้ชมจะยินดีสนองตอบตามที่โฆษณาได้มากขึ้น การสร้างชุมชนสัมพันธ์ของคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี โดยให้ บริษัททศภาคจำกัด ถ่ายทอดฟุตบอลโลกโดยไม่มีโฆษณานั้น ทำให้เบียร์ช้างชนะใจผู้ชมฟุตบอล จนกระทั้งเบียร์ช้างคลองส่วนแบ่งการตลาดถึง 60 % ในปีต่อมา 
แรงจูงใจให้ซื้อสินค้ามี 5 ประการ คือ
1. ซื้อเพื่อความอยู่รอด ( to live ) เช่น ซื้ออาหาร ยา และของจำเป็นต่อชีวิตเป็นต้น
2. ซื้อเพื่อเรียนรู้ ( to study ) เช่น ซื้อหนังสือ อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ 
เพื่อเรียนรู้ และเพื่อส่งเสริมการศึกษา เป็นต้น
3. ซื้อเพราะรัก ( to love ) แบ่งเป็น 2 ประการ 
ประการที่หนึ่ง ซื้อเพราะรัก เคารพ ศรัทธา ผู้ขาย หรือเจ้าของผลงาน เช่น ซื้อหนังสือชีวะประวัติหรือผลงานของท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นต้น 
ประการที่สอง ซื้อเพราะรักผลิตภัณฑ์หรือสินค้านั้น ๆ เช่น ซื้อตุ๊กตาหมี ซื้อตุ๊กตาสุนัข เพราะรักหมีและสุนัข หรือซื้อสินค้าเพราะรักและศรัทธาผู้ขายสินค้า เป็นต้น
4. ซื้อเพื่อความสะใจ เช่นเมื่อก่อนนายดำยากจนมาก ๆ อยากใส่ทองแต่ไม่มีเงินซื้อใส่ แต่พอเป็นเศรษฐี จึงซื้อสร้อยทองเส้น 30 บาทใส่ เป็นต้น 
5. ซื้อเพื่ออวดคน เช่น ซื้อรถราคาแพงขับ ทั้ง ๆ ที่ตนเองฐานะก็ไม่ค่อยดีแต่ต้องการอวดคน หรือเพราะมีเงินมากจึงซื้อข่มคนอื่น เป็นต้น
นักการตลาดกล่าวเป็นข้อคิดว่า
วิธีง่าย ๆ ที่จะประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจก็คือ จงเรียนรู้ว่าคนและชุมชนเขาต้องการอะไร และจงขายสิ่งที่ต้องการนั้น เมื่อเขาต้องการเขาจะซื้อด้วยความสมัครใจ ไม่ต้องยัดเยียดและอ้อนวอนให้เขาซื้อ
ส่วนวิธีที่จะทำให้ธุรกิจล่มสลายก็คือการเสนอขายสินค้าและบริการที่คนและชุมชนไม่ต้องการ เช่น เวลาที่ไข้หวัดนกกำลังระบาดแต่เราขายข้าวมันไก่ ปิ้งไก่ ก้วยเตี๋ยวไก่ เป็นต้น 
การโฆษณาที่เดินตามหลังผู้อื่นก็เท่ากับว่าคุณเคารพในความสามารถและการตัดสินใจของผู้อื่นมากกว่าความสามารถและการตัดสินใจของตนเอง ถ้าคุณทำเช่นนั้นก็เท่ากับว่า คุณก็เป็นผู้ตาม ไม่ใช่ผู้นำ

วิลเลียม เช็คเสปียร์ กล่าวว่า โลกทั้งโลกเป็นเหมือนร้านค้าหรือตลาด และคนทั้งหลายในโลกนี้เป็นทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย แต่ผู้ซื้อทั้งหลายจะเป็นลูกค้าของคุณหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่า คุณได้ทำ 4 ประการต่อไปนี้หรือไม่     

1.     คุณคำนึงถึงความต้องการของลูกค้าหรือไม่ว่าเขาต้องการอะไร 
2.     คุณขายสินค้าหรือบริการที่ลูกค้าต้องการหรือไม่
3.     คุณส่งเสริมการขายสินค้าหรือบริการอย่างสม่ำเสมอหรือไม่
4.     คุณพัฒนาสินค้าและการบริการอยู่ตลอดเวลาหรือไม่